เมนู

จะเผาอาหารในลำไส้ให้ย่อยยับวิกลอ่อนไป สัตว์บริโภคอาหารโภชนะเข้าไปตกลงถึงลำไส้แล้ว
เตโชธาตุมิอาจเผาอาหารให้ย่อยยับไปได้ สัตว์ที่บริโภคนั้นก็ถึงซึ่งชีวิตตักษัยกระทำกาล-
กิริยาตาย จะเหมาว่าโภชนะกินตายหรือ อติทุพฺพลตา เหตุทั้งนี้เพราะเตโชธาตุทุพพลภาพอ่อน
ไปฉันใด ดูรานะบพิตร พระอรหัตเล่าเมื่อคฤหัสถ์ได้ไม่บรรพชาเสียในวันนั้นจะเข้าพระนิพพาน
คีหิทุพฺพลตาย ด้วยภูมิคฤหัสถ์ทุพพลภาพ จะเหมาว่าพระอรหัตจะร้อนกระไรได้ อุปไมย
เหมือนบุคคลบริโภคโภชนะ เตโชธาตุอ่อนเผาไม่ได้ ไม่ควรจะเหมาเอาโภชนะว่ากินตายฉะนั้น
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการหนึ่ง เปรียบดังกำหญ้าอันน้อย
บุคคลปักไว้ที่ภูมิภาคแผ่นดิน ยังมีบุคคลผู้หนึ่งเอาศิลาใหญ่มาทับลง กำหญ้าน้อยมิอาจทาน
ศิลาใหญ่ไว้ได้ ย่อมจะบี้แบนย่อยยับไป ยถา มีครุวนาฉันใด พระอรหัตสิสมควรจะทรงได้แต่ภูมิ
บรรพชาเป็นภูมิใหญ่ ภูมิคฤหัสถ์ต่ำนักมิอาจทรงได้ อุปไมยเหมือนกำหญ้านั้น อีกประการหนึ่ง
ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ถ้ามิฉะนั้นเปรียบดุจบุรุษอันเป็นหินชาติต่ำโคตรต่ำวงศ์พงศ์พันธุ์
ต่ำตระกูล ปริตฺตปุญฺโญ มีบุญอันน้อยถอยทั้งสติปัญญา ครั้นราชสมบัติมาถึงเข้าได้เป็นเจ้า
จอมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติก็มิอาจเสวยได้นาน มักจะต้องประหารถึงแก่กาลกิริยา ด้วยเหตุ
ว่าบุญนั้นน้อย ชาติต่ำไม่สมควรที่จะทรงความเป็นใหญ่ไว้ได้ฉันใดก็ดี เพศภูมิคฤหัสถ์นี้ ต่ำช้า
มิอาจสามารถที่ว่าจะทรงไว้ซึ่งพระอรหัตไว้นาน ปานดุจบุรุษหินชาติมิอาจเสวยราชสมบัติบวร
เศวตฉัตรนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีได้ทรงฟังพระนาคเสนวิสัชนาฉะนี้ก็ชื่นชมปรีดา
สาธุการ สรรเสริญพระนาคเสนต่าง ๆ ในกาลบัดนั้น
คีหิปัพพชิตานัง ขีณาสวปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

โลเกนัตถิภาวปัญหา ที่ 7


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ บุคคลทั้งหลายจะเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี พระ
ปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี พระสาวกเจ้าก็ดี มีปรากฏในโลก บุคคลจะเป็นบรมกษัตริย์จักรพรรดิราชก็ดี
เป็นพระยาประเทศราชก็ดี เป็นเทวดาก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี เป็นผู้มีทรัพย์หรือหาทรัพย์มิได้ก็ดี
จะเป็นทุกข์ก็ดี จะเป็นสุขก็ดี จะเป็นเพศหญิงเพศชายก็ดี บุคคลจะกระทำบุญกระทำบาปก็ดี

ผลบุญผลบาปก็ดี บรรดาสิ่งเหล่านี้ย่อมปรากฏในโลกสิ้น อีกประการหนึ่ง สัตว์ที่เกิดในโลก
เป็นอัณฑชะกำเนิดเป็นต้นว่า ไก่และนำอันเกิดแต่ไข่นั้นก็ดี สัตว์ทั้งหลายที่เป็นชลาพุชะกำเนิด
ได้แก่มนุษย์เป็นต้นก็ดี สัตว์ที่เกิดในสังสทซะกำเนิดเกิด้วยเหงื่อไคลและละอองเกสรดอกไม้ก็ดี
สัตว์ที่เกิดในอุปปาติกะกำเนิด มีเทวดาเป็นต้นก็ดี ย่อมปรากฏในโลกนี้ ประการหนึ่ง สัตว์ที่หา
เท้ามิได้ก็ดี สัตว์สองเท้าก็ดี สัตว์สี่เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี ย่อมมีปรากฏในโลก ประการหนึ่ง
ยักษ์และผีเสื้อและกุมภัณฑ์และอสูรและคนธรรพ์และปีศาจและกินนรนาคครุฑฤษีวิชาธรก็ดี
ย่อมมีอยู่ในโลกนี้ ประการหนึ่ง ช้างม้าโคกระบืออูฐลา แพะแกะเนื้อทราบสุกรราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลืองหมีเสือดาว สุนัขบ้านสุนัขจิ้งจอก ย่อมมีอยู่ในโลกนี้ ประการหนึ่ง บรรดานกมีชนิด
เป็นอันมากก็มีปรากฏในโลก ประการหนึ่ง เงินทองแก้วสังข์แก้วมุกดา แก้วประพาฬแก้วมณี
แก้วแดงแก้วลายแก้วไพฑูรย์แก้วผลึกเพชรกาฬโลหะตามพโลหะรชฏโลหะกังสโลหะ และวัตถา
ผ้าทั้งหลายคือผ้ากระทำด้วยด้าย กระทำด้วยป่าน กระทำด้วยใยบัว และผ้ากระทำด้วยเปลือก
ไม้และผ้ากัมพลก็ดีก็มีอยู่ในโลกนี้ จะว่าด้วยพืชทั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าวสาลีและข้าวแดง ข้าว
เหนียวและพืชต่าง ๆ คือข้าวโพดข้าวฟ่างถั่วงาฟักแฟงแตงน้ำเต้ามะเขือพริกหอมกระเทียม
และสารพัดพืชทั้งหลายต่าง ๆ นี้ย่อมมีอยู่ในโลกนี้ จะว่าด้วยกลิ่นทั้งหลายต่าง ๆ คือกลิ่นราก
กลิ่นแก่น กลิ่นกระลี้ กลิ่นใบ กลิ่นดอก กลิ่นผล กลิ่นทั้งหลายสารพัดทั้งกลิ่นเหม็นและกลิ่นหอม
ย่อมมีในโลกนี้สิ้น ประการหนึ่ง ติณชาติเครือเป็นเถาวัลย์เครือกอหน่อ ลำต้นทั้งหลาย และ
แม่น้ำและห้วยหนอสระบ่อทะเลอันใหญ่ และเต่าปลาสารพัดสัตว์นี้ก็มีในโลกแล้ว ที่สิ่งไร
นอกกว่านี้จะไม่มีเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาไป ให้โยมทราบในกาลนี้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ สิ่งที่
มิได้บังเกิดมีในโลกนี้มีอยู่ 3 ประการ สเจตนา วา สิ่งที่มีเจตนาเป็นต้นว่ามนุษย์และเดียรัจฉาน
บรรดาที่มีจิตเจตนานั้นก็ดี อเจตนา วา หรือสิ่งที่หาเจตนามิได้เป็นต้นว่าพฤกษาชาติต้นไม้และ
บรรดาของที่ไม่มีจิตเจตนานั้นก็ดี อชรามรา จะไม่แก่ไม่เฒ่าไม่ตายไม่ยับไม่ยุ่ยไปหามิได้
ประการ 1 สงฺขารานํ นิจฺจตา ความที่สังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยงยั่งยืนหามิได้ประการ 1 ปร-
มตฺเถน สตฺตูปลทฺธิ ที่เรียกว่าสัตว์ว่าบุคคลโดยปรมัตถ์หามิได้ ประการ 1 สิริเป็น 3 ประการ
เท่านี้ไม่มีปรากฏในโลก
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ได้ทรงฟังจึงตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เอว-
เมตํ ตถา
โยมจะรับคำของพระผู้เป็นเจ้าดังนี้ไว้เป็นที่คำนับสืบไปในกาลบัดนี้
โลเกนัตถิภาวปัญหา คำรบ 7 จบเพียงนี้

อรหันตสโมหปัญหา ที่ 8


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดีพระราชโองการถามอรรถปัญหาอื่นสืบไป
ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ อรหา สโมโห วิคตโมโห พระอรหันต์
เจ้าประกอบด้วยโมหะ หรือมีโมหะปราศไปแล้ว
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ธรรม-
ดาว่าพระอรหันต์แล้วปราศจากโมหะ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ พระอรหันต์เจ้าท่านต้องอาบัติบ้างหรือไม่
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระ
อรหันต์เจ้าท่านยังต้องอาบัติอยู่
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา พระอรหันต์ต้องอาบัตินั้น ต้องในวัตถุใดบ้าง พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระอรหันต์
เจ้านั้นท่านต้องอาบัติด้วยสร้างกุฎีวัตถุ 1 ด้วยสำคัญเวลาผิด เวลากินเข้าใจเสียว่าเป็นกาล-
วัตถุ 1 ด้วยสำคัญเหตุผิด ห้ามภัตแล้วเข้าใจว่ายังไม่ได้ห้ามวัตถุ 1 ด้วยสำคัญสิ่งของผิด
สิ่งของไม่เป็นเดนเข้าใจว่าเป็นเดนวัตถุ 1 ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ วัตถุที่พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ เมื่อว่าโดยอาการที่ต้องอาบัติ ก็คงเป็นอัน
ว่าพระอรหันต์เจ้านั้น ต้องอาบัติด้วยอาการ 2 อย่าง คือต้องด้วยไม่เอื้อเฟื้ออย่าง 1 ต้องด้วย
ไม่รู้อย่าง 1 โยมไม่เห็นด้วย ธรรมดาพระอรหันต์นั้นท่านจะไม่เอื้อเฟื้อฝ่าฝืนขืนกระทำทีเดียว
หรือ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงเถรวาจาว่า น หิ มหาราช ขอถวายพระพร พระอรหันต์เจ้าทั้ง
หลายจะไม่มีความเอื้อเฟื้อฝ่าผืนต้องอาบัตินั้นหามิได้
พระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
ถ้ากระนั้นพระอรหันต์เจ้าจะต้องอาบัติด้วยเหตุใดเล่า โยมนี้สงสัยนักหนา นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
วิสัชนายกเหตุขึ้นแสดงให้โยมเข้าใจในกาลบัดนี้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ลักษณะแห่งโทษมี